เมนู

[

อรรถาธิบายสังขาตศัพท์ลงในอรรถตติยาวิภัตติ

]
ในบทว่า เถยฺยสงฺขาตํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- โจร ชื่อว่า ขโมย.
ความเป็นแห่งขโมย ชื่อว่า เถยฺยํ. บทว่า เถยฺยํ นี้ เป็นชื่อแห่งจิตคิดจะลัก.
สองบทว่า สงฺขา สงฺขาตํ นั้น โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า
สงฺขาตํ นั้น เป็นชื่อแห่งส่วน เหมือนสังขาตศัพท์ในอุทาหรณ์ทั้งหลายว่า
ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งหลาย มีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้เป็นต้น. ส่วน
นั้นด้วยความเป็นขโมยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เถยฺยสงฺขาตํ. อธิบายว่า
ส่วนแห่งจิตดวงหนึ่งซึ่งเป็นส่วนแห่งจิตเป็นขโมย. ก็คำว่า เถยฺยสงฺขาตํ นี้
เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ; เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงเห็น
โดยเนื้อความว่า เถยฺยสงฺขาเตน แปลว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ดังนี้.
ก็ภิกษุใด ย่อมถือเอา (ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้) ด้วยส่วนแห่งความ
เป็นขโมย, ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีจิตแห่งความเป็นขโมย ; เพราะฉะนั้น เพื่อ
ไม่คำนึงถึงพยัญชนะแสดงเฉพาะแต่ใจความเท่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า เถยฺยสงฺขาตํ นั้นไว้อย่างนี้ว่า ผู้มีจิต
แห่งความเป็นขโมย คือ ผู้มีจิตคิดลัก ดังนี้.

[

อรรถาธิบายบทมาติกา 6 บท

]
ก็ในคำว่า อาทิเยยฺย ฯ เป ฯ สงฺเกตํ วีตินาเมยฺย นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า บทแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจการตู่เอา, บทที่ 2
ตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้นำเอาทรัพย์ของบุคคลเหล่าอื่นไป, บทที่ 3 ตรัส
ด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาฝังไว้, บทที่ 4 ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่มี
วิญญาณ, บทที่ 5 ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาเก็บไว้บนบกเป็นต้น, บทที่
6 ตรัสด้วยอำนาจแห่งความกำหนดหมาย หรือด้วยอำนาจแห่งด่านภาษี.

อนึ่ง ในคำว่า อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้ การประกอบความย่อมมี ด้วย
อำนาจสิ่งของสิ่งเดียวบ้าง ด้วยอำนาจสิ่งของต่าง ๆ บ้าง. ก็แล ความประกอบ
ด้วยอำนาจสิ่งของสิ่งเดียว ย่อมใช้ได้ด้วยทรัพย์ที่มีวิญญาณเท่านั้น. ความ
ประกอบด้วยอำนาจสิ่งต่าง ๆ ย่อมใช้ได้ด้วยทรัพย์ที่ปนกันทั้งที่มีวิญญาณทั้งที่
ไม่มีวิญญาณ. บรรดาความประกอบด้วยอำนาจสิ่งของสิ่งเดียวและสิ่งของต่างๆ
นั้น ความประกอบด้วยอำนาจสิ่งของต่าง ๆ บัณฑิตควรทราบโดยนัยอย่างนี้ก่อน.

[

อรรถาธิบายกิริยาแห่งการลัก 6 อย่าง

]
บทว่า อาทิเยยฺย ความว่า ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฎ.
ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เจ้าของทอดธุระว่า
สวนนี้จักไม่เป็นของเราละ ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า หเรยฺย ความว่า ภิกษุมีไถยจิตนำทรัพย์ของผู้อื่นไปลูบคลำ
ภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฎ. ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ลดลงมาสู่คอ
ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า อวหเรยฺย ความว่า ภิกษุรับของที่เขาฝากไว้ เมื่อเจ้าของ
ทวงขอคืนว่า ทรัพย์ที่ข้าพเจ้าฝากไว้มีอยู่, ท่านจงคืนทรัพย์ให้แก่ข้าพเจ้า
กล่าวปฏิเสธว่า ฉันไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่
เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เจ้าของทอดธุระว่า ภิกษุรูปนี้ จักไม่คืนให้แก่เรา
ต้องอาบัติปาราชิก.
สองบทว่า อิริยาปถํ วิโกเปยฺย ความว่า ภิกษุคิดว่า เราจักนำ
ไปทั้งของทั้งคนขน ให้ย่างเท้าที่หนึ่งก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้า
ที่สองก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก.